หน้าแรก ITA แบบสอบถามความฯ Facebook Admin webmail   facebook

-: ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ:-

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล/องค์การบริการส่วนตำบล

          อํานาจหน้าที่ของเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 กําหนดไว้แจ้งชัด ซึ่งอาจจําแนกที่มาของ อํานาจหน้าที่ดังกล่าวได้คือ
1. อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้งเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบลกําหนด
สามารถแบ่งแยกประเภทอํานาจหน้าที่ของเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบลไว้เป็น 2 ส่วน คือ หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และ อํานาจหน้าที่ ที่เลือกปฏิบัติ 

มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล
         การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล การจัดทางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

มาตรา 53** ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐
ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
ให้มีโรงฆ่าสัตว์
ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
มาตรา 54* ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบลเมือง อาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
ให้มีการสาธารณูปการ
จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
 ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
เทศพาณิชย์
2. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

      หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ

มาตรา 16 ให้เทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้

การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 
การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ 
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 
การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ 
การสาธารณูปการ 
การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ 
การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 
การส่งเสริมการท่องเที่ยว 
การจัดการศึกษา 
การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 
การบารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 
การส่งเสริมกีฬา 
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 
การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 
การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 
การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 
การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ 
การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
การผังเมือง 
การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 
การดูแลรักษาที่สาธารณะ 
การควบคุมอาคาร 
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 
กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
3. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆกำหนด
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบล พ.ศ.2496 กำหนดไว้แล้วยังมีกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบลมีอำนาจ หน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆอีกเป็นจำนวนมาก เช่น

พระราชบัญญัติป้องกันภยันตราย อันเกิดแก่การเล่นมหรสพ พ.ศ.2464
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2534
พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระทำปุ๋ย พ.ศ.2490
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2495
พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534
พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาล/องค์การบริการส่วนตำบลและสุขาภิบาล พ.ศ.2503
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518
พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523
พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526
พระราชบัญญัติสุสานและณาปนสถาน พ.ศ.2528
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 11 มกราคม 2502
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2515 (กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจอดเรือในแม่น้ำลำคลอง)
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (กฎหมายว่าด้วยทางหลวง)
ประมวลกฎหมายที่ดิน (ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่าตามคำสั่ง กระทรวงมหาดไทยที่ 890/2498

ภารกิจหลักและภารกิจรองที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการ
          ภารกิจหลัก
  1. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
  2. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
  3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน  สังคม  และการรักษาความสงบเรียบร้อย
  4. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  5. ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร
  6. ด้านการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม
  7. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ภารกิจรอง
  1. การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี
  2. การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ
  3. การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร
  4. ด้านการวางแผน  การส่งเสริมการลงทุน