สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
|
4.1 การศึกษา
4.1.1 โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
1) โรงเรียนบ้านศรีภูมิสามัคคี หมู่ที่ 1 บ้านศรีภูมิ
2) โรงเรียนบ้านขามสามัคคี หมู่ที่ 8 บ้านขาม
4.1.2 โรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
1) โรงเรียนบ้านโคกสูง หมู่ที่ 3 บ้านโคกสูง
4.1.3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีภูมิวนาราม หมู่ที่ 1 บ้านศรีภูมิ
2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดประชาศรัทธาธรรม หมู่ที่ 3 บ้านโคกสูง
4.2 สาธารณสุข
4.2.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีภูมิ จำนวน 1 แห่ง
4.2.2 สาธารณสุขมูลฐานหมู่บ้าน จำนวน 9 แห่ง
4.3 อาชญากรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ อยู่ในเขตรับผิดชอบของสถานีตำรวจ ตำบลลำดวน และ
ศูนย์อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ
4.4 ยาเสพติด
4.4.1 ผู้เสพสารเสพติด ที่ได้รับการบำบัด จำนวน 20 คน
4.5 การสังคมสงเคราะห์
4.5.1 ผู้สูงอายุ จำนวน 488 คน
4.5.1 ผู้พิการ จำนวน 147 คน
4.5.3 ผู้ป่วยเอดส์ (HIV) ที่แพทย์ได้รับรองและทำการวินิจฉัยแล้ว จำนวน 3 คน
4.5.4 รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
- ถนน คสล. จำนวน 35 สาย
- ถนน ลาดยาง จำนวน 3 สาย
- ถนนลูกรัง/ดิน จำนวน 75 สาย
- สะพาน คสล. จำนวน 1 สาย
5.2 การไฟฟ้า
ตำบลศรีภูมิ ได้รับการบริการไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกระสัง มีไฟฟ้า
อย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน และกำลังพัฒนาและขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ไฟฟ้าแสงสว่างให้ทั่วถึง
5.3 การประปา จำนวน 6 แห่ง
5.3.1 ประปาหมู่บ้านแบบผิวดินขนาดกลาง หมู่ที่ 1 , 4 , 5 , 7 , 8
5.3.2 ประปาหมู่บ้านแบบผิวดินขนาดใหญ่ หมู่ที่ 3
5.4 โทรศัพท์
ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ ไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ โทรศัพท์เคลื่อนที่
มีใช้เป็นส่วนมาก
5.5 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
หอกระจายข่าว / เสียง มีทุกหมู่
ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชากรในเขตตำบล ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ดังนี้
- อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 13 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพค้าขาย ร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
6.2 การปศุสัตว์
เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริม เช่น
การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ
6.3 การบริการ
พื้นที่ตำบลศรีภูมิ เป็นชุมชนเกษตรส่วนใหญ่ มีร้านค้าบริการ
6.4 การท่องเที่ยว
ในองค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ
6.5 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
6.5.1 การพาณิชย์
- ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ จำนวน 6 แห่ง
- ร้านค้าต่างๆ จำนวน 47 แห่ง
6.5.2 กลุ่มอาชีพ
- มีกลุ่มอาชีพ
- กลุ่มอิฐประสาน กลุ่มทอผ้า กลุ่มตีมีดสนาม
6.6 แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 - 60 ปี อยู่ในกำลังแรงงาน
ร้อยละ 95 เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ 73.99 ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง 25 – 50 ปี บางส่วนไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้